วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556

วิสัยทัศน์

ความหมายของคำว่าวิสัยทัศน์ (Vision)

คำว่า วิสัยทัศน์ มีผู้ให้ความหมายไว้มากมายหลายท่าน อาทิเช่น 

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ได้บอกว่า วิสัยทัศน์ หมายถึงความเคลื่อนไหวของประชาชาติ เพื่อสร้างจินตนาการใหม่เกี่ยวกับการศึกษา 

ศาสตราจารย์ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย ให้ความหมายไว้ว่า วิสัยทัศน์ มาจากคำภาษาอังกฤษ คำว่า “Vision” แปลว่า ความคาดหมายที่จะกระทำในอนาคต หรือ การมองเป็นสร้างระบบให้เพื่อให้เพื่อรองรับแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หรือเพื่อการพัฒนาแนวโน้มที่เกิดขึ้นในอนาคต ส่วนคำว่า Visionary หมายถึง คนที่จะทำให้ Vision ประสบผลสำเร็จ

บูรชัย ศิริมหาสารคร ได้กล่าวว่า วิสัยทัศน์เป็นศัพท์เฉพาะศาสตร์ (Technical Term) เกี่ยวกับการบริหารที่ถูกบัญญัติขึ้นจากคำว่า “Vision” ในภาษาอังกฤษ ซึ่งตามความหมายทั่วไปแปลว่า” การเห็นหรือภาพ” แต่ในทางการบริหาร วิสัยทัศน์ (Vision) หมายถึงความสามารถในการมองเห็นภาพที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ไกลที่สุดและชัดที่สุด การมองเห็นที่ว่านี้ มิใช่การมองเห็นด้วยสายตา แต่เป็นการมองเห็นด้วยปัญญา วิสัยทัศน์เป็นจินตนาการ หรือภาพเสมือนจริงที่เกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า

อาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ ได้พูดถึงคำวิสัยทัศน์ว่าไม่ใช่ศัพท์ของราชบัณฑิตยสถาน แต่เป็นศัพท์ที่มีผู้คิดขึ้น โดยอาจารย์ได้ให้ไว้ว่า “การดูแลในสิ่งที่อยู่ในวิสัย ซึ่งหมายถึงว่ามีความสามารถเพียงใด ก็ดูได้เพียงนั้น อาจารย์ได้กล่าวถึงคำ Vision ว่าน่าจะตรงกับคำว่า วิทัศน์มากกว่า เพราะคำว่าวิทัศน์ มีความหมายว่า “ ดูได้อย่างวิเศษ หรือมองอย่างวิเศษ มองอย่างแจ่มแจ้ง”

ดร.สายสุรี จุติกุล บอกว่า วิสัยทัศน์ คือ การมองไปข้างหน้าในส่วนที่ดี ในส่วนที่เราคาด ในส่วนซึ่งเรามองจะใช้คำว่า Visual Thinking ว่าเป็นความคาดหวังที่อยากจะเห็นให้เป็น Expectation ซึ่งหมายความว่าพยายามจะมองไปในทางที่ดีที่สุดเท่าที่จะดีได้

กล่าวโดยสรุปคือ วิสัยทัศน์ หมายถึง การสร้างภาพอนาคต หรือการมองอนาคตซึ่งจะเป็นเป้าหมายในการเดินไปสู่อนาคต โดยวิธีการนำเอาระบบการวางแผนมาใช้ หรือหมายถึงสิ่งที่อยากเห็นในอนาคตและเป็นสิ่งที่ดีกว่าเดิม วิสัยทัศน์ จะเกิดจากการรู้จักคิดโดยใช้ปัญญา และมุ่งมั่นให้เกิดขึ้นจริง ซึ่งวิสัยทัศน์ที่ดีนั้นมีคุณสมบัติเฉพาะ 8 ประการ ดังนี้ 
1. มุ่งเน้นอนาคต (Future Oriented)
2. เต็มไปด้วยความสุข (Utopian)
3. ความเหมาะสม (Appropriate)
4. สะท้อนความฝันสูงสุด (Reflect High Ideals)
5. อธิบายจุดมุ่งหมาย (Clarify Purpose)
6. ดลบันดาลความกระตือรือร้น (Inspire Ethusiansm)
7. สะท้อนความเป็นหนึ่งเดียว (Reflect the Uniqueness)
8. ความมักใหญ่ใฝ่สูง (Ambition)

กรอบความคิดในการมองวิสัยทัศน์
กรอบความคิดในการมองวิสัยทัศน์จากความหมายข้างต้นจะมองได้ 4  ระดับ  คือ
1.  วิสัยทัศน์ของบุคคล (Personal Vision)  เป็นวิสัยทัศน์ในการมองตัวเองสำหรับอนาคตในด้านต่างๆ  เช่น  ด้านร่างกาย  และ จิตใจ  ในด้านร่างกายจะพิจารณาถึงบุคลิกภาพ  ว่าต้องการให้มีรูปร่างอย่างไร  อ้วนหรือผอม  จะให้มีสุขภาพอนามัยเป็นอย่างไร
สำหรับด้านจิตใจ  จะพิจารณาถึงลักษณะอารมณ์  ความเครียด  ความหวัง  ความผิดหวัง  และแนวทางแก้ไข
นอกจากนั้น  ยังมองในลักษณะยุทธศาสตร์การพัฒนา  การกำหนดแนวทางการพัฒนาตนเองในวิถีชีวิตประจำวันและอนาคตในด้านต่าง ๆ    ในภาพรวม
2.  วิสัยทัศน์เกี่ยวกับอาชีพ (Career Vision)  เป็นการมองภาพถึงความก้าวหน้าในการประกอบอาชีพของตนเองว่า  จะดำรงตำแหน่งอะไร  จะต้องการศึกษาต่อด้านใด  หรืออบรมด้านใด เพื่อให้มีคุณลักษณะที่ต้องการ คือ  มีความก้าวหน้าไปอย่างไร  เงินเดือน ยศ  เป็นอย่างไร หรือ  ต้องการมีอาชีพใหม่อย่างไรบ้าง  เพื่อนำมาจัดทำแผนอาชีพของตน (Career  path)
3.  วิสัยทัศน์ขององค์การ  (Organization Vision)  คือ วิสัยทัศน์ที่ภาพกว้างและสมบูรณ์ของระบบในองค์การปัจจุบันในภาพรวม  และเป็นการมองกว้างออกไปถึงสภาพแวดล้อมที่อยู่โดยรอบองค์การด้วย  ซึ่งจะเป็นการมององค์การถึงระบบการบริหารขององค์การว่าจะดำเนินการอย่างไร  ความก้าวหน้าขององค์การจะเป็นอย่างไร  จะมีผลกระทบอะไรบ้าง
4.  วิสัยทัศน์ของระบบสังคมโลก (World  Vision)  เป็นการมองถึงระบบสังคมในอนาคตว่าจะเป็นอย่างไร  อาจแยกเป็นระบอบย่อย  คือ ระบบเศรษฐกิจ  การเมืองเทคโนโลยี  เป็นต้น  รวมถึง การมองถึงผลกระทบที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกด้วย
จะเห็นได้ว่ากรอบของวิสัยทัศน์จะมีตั้งแต่การมองถึงตัวเอง   มองถึงอนาคตเกี่ยวกับอาชีพ  องค์การ  และสังคมกว้างที่เป็นสังคมโลก  ซึ่งจะมีส่วนเชื่อมโยง  มีความสัมพันธ์กันและมีผลกระทบซึ่งกันและกัน  สังคมโลกเป็นระบบใหญ่  กว้างขวาง และซับซ้อน  ระบบขององค์การอยู่ภายในสภาพแวดล้อมของสังคมโลก  และในทำนองเดียวกัน  ระบบบุคคลก็เกี่ยวข้องกับระบบในองค์การและระบบสังคมโลก   กรอบความคิดในการมองวิสัยทัศน์จึงต้องมองกว้างและเชื่อมโยงเกี่ยวพันกัน
ถึงอย่างไรก็ตามจากวิสัยทัศน์ทั้ง 4 ประเภท  ดังกล่าวข้างต้นสามารถจัดกลุ่มวิสัยทัศน์ออกได้เป็น 2  กลุ่มใหญ่  คือ
  1. กลุ่มวิสัยทัศน์ส่วนบุคคล   จะครอบคลุมถึงวิสัยทัศน์ในการสร้างอนาคตของบุคคลอาจประกอบด้วยวิสัยทัศน์ในหน้าที่การงาน  วิสัยทัศน์ในด้านครอบครัว และวิสัยทัศน์หลังเกษียณอายุ  ซึ่งจะครอบคลุมวิถีชีวิตของบุคคลตั้งแต่เกิดจนตาย
  2. กลุ่มวิสัยทัศน์ขององค์การ  เป็นการมองถึงระบบการบริหารองค์การดังกล่าวมาแล้วซึ่งทุกคนในองค์การจะต้องมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared Vision)  ที่จะมุ่งมั่นปฏิบัติตามแผน  เพื่อให้บรรลุแผนงานตามที่องค์การกำหนดไว้ให้ได้  การมีวิสัยทัศน์นั้นถือว่าเป็นหัวใจของวิสัยขององค์การเพราะจะทำให้ทุกคนในองค์การถือว่าตนเองมีส่วนร่วม   ทำให้เห็นภาพรวมขององค์การและเป้าหมายขององค์การที่จะช่วยให้องค์การบรรลุเป้าหมาย  เพราะมีเป้าหมายและแนวทางตรงกัน
คุณค่าของวิสัยทัศน์
เดวิสและโธมัส (Davis and Thomas 1989 : 22 – 23)   กล่าวว่า  วิสัยมีคุณค่า  เป็นสิ่งสำคัญประการแรกที่ผู้นำจะต้องมีและเผยแพร่วิสัยทัศน์ให้สมาชิกทุกคนได้เข้าใจอย่างชัดเจน  โดยเน้นที่ผลผลิต   เป้าหมายและทิศทางการดำเนินการ  เช่นเดียวกับที่ลิซาตา และคณะ  (Licata et.al (1990 : 74;  1989 : 37)  ได้พบว่าผู้นำมีวิสัยทัศน์  นอกจากมองเห็นภาพในอนาคตแล้ว  ยังต้องเสียสละประโยชน์ส่วนตน  เพื่อมุ่งมั่นทำงานให้บรรลุวิสัยทัศน์นั้น ซึ่งก็สอดคล้องกับคาล์ดเวลล และสปิงค์ (Caldwell and Spinks 1990 : 174)  ที่ย้ำว่าผู้นำจะต้องผูกพันกับวิสัยทัศน์นั้น  และสามารถนำวิสัยทัศน์ลงสู่นโยบาย  แผนงาน  และการปฏิบัติงานในแต่ละวันขององค์การได้
จึงกล่าวโดยสรุปได้ว่า ผู้นำจะต้องมีวิสัยทัศน์และนำวิสัยทัศน์มาผลักดันให้เกิดผลสู่การปฏิบัติ  นำองค์การไปสู่เป้าหมายที่ต้องการตามวิสัยทัศน์  วิสัยทัศน์จึงเป็นการชี้แนวทางการพัฒนาองค์กรและในทำนองเดียวกันก็จะสะท้อนถึงผู้นำด้วยจากวิสัยทัศน์นี้เอง  เพราะวิสัยทัศน์จะเป็นทิศทางนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงองค์การ  ด้วยเหตุผล คือ (Kotter 1996 : 72)
  1. ทำให้มองเห็นทิศทางการเปลี่ยนแปลงองค์การได้ชัดเจนว่าจะมีทิศทางไปอย่างไรเป็นเส้นทางเดียวหรือ หลายเส้นทาง
  2. กระตุ้นให้บุคคลได้ปฏิบัติมิได้ตรงตามทิศทางขององค์การ  แม้ว่าในระยะแรก ๆ อาจยุ่งยากบ้าง
  3. ช่วยให้เกิดการประสานงานการปฏิบัติงานของคนในองค์การจำนวนมากในแนวทางที่รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
วิสัยทัศน์ที่ดี
วิสัยทัศน์ที่ดีควรมีลักษณะสำคัญ  ดังนี้
  1. สร้างภาพจินตนาการได้ดี  คมชัด  ทำให้มีมองเห็นภาพในอนาคต  ซึ่งเกิดจากการให้ทุกคนในองค์การมีส่วนร่วม ( Shared Vision)
  2. มีลักษณะน่าสนใจ  ผู้มีส่วนได้เสียและผู้เกี่ยวข้องให้ความสนใจ
  3. วิสัยทัศน์ต้องเขียนให้มีลักษณะความเป็นไปได้  ไม่ไกลเกินฝัน
  4. มีความชัดเจน  เขียนมีรายละเอียดตามสมควร  ชัดเจนมองเห็นภาพในอนาคตได้
  5. ยืดหยุ่นได้   มีความคิดริเริ่ม  และสามารถเปลี่ยนแปลงได้  ถ้ามีข้อมูลหรือเหตุผลดี
  6. สามารถสื่อสารให้คนอื่นโดยเฉพาะบุคคลในองค์การสามารถสื่อสารเข้าใจได้
  7. ต้องท้าทายความรู้  ความสามารถของสมาชิกทุกคนในองค์การให้สามารถปฏิบัติงาน
บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
  1. การได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นของสมาชิกในองค์การ
  2. จะต้องไม่นำเอาวิสัยทัศน์ของบุคคล  หรือ หน่วยงานอื่นมาใช้
  3. ใช้ภาษาเขียนที่สั้น  กะทัดรัด  เข้าใจง่าย  และ สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ชัดเจน
ที่มาของวิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์มีแหล่งที่มาจากแหล่งข้อมูลข่าวสารที่เป็นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของบุคคลในองค์การ  เป็นความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้นจากการวิเคราะห์จุดแข็ง  จุดอ่อน  อุปสรรค  และโอกาสโดยอาศัยความรู้ของบุคคลในการผสมผสานความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  และใช้ดุลยพินิจจากประสบการณ์หรือ ความรู้  ปรับภาพความคิดให้ชัดเจน  และ มีความเป็นไปได้
นอกจากนั้น  เพื่อพิจารณานำวิสัยทัศน์ไปใช้ในการบริหารหรือปฏิบัติงาน จะต้องสัมพันธ์กับพันธกิจและการดำเนินงานขององค์การจนถึงผลการดำเนินงาน  ที่มาของวิสัยทัศน์จึงต้องสัมพันธ์กับพันธกิจที่จะนำไปสู่การดำเนินงานขององค์การ  ดังที่ ทิตยา  สุวรรณชฎ  (2543 : 6 – 8)  ได้สรุปไว้ดังนี้
  1. วิสัยทัศน์ที่เกิดจากการวิเคราะห์อดีต  ปัจจุบัน  แล้วจึงคาดการณ์ในอนาคต
  2. วิสัยทัศน์ที่เกิดจากการวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อสร้างเป้าหมายที่ทำให้เกิดแผนงานและ
โครงการ
  1. วิสัยทัศน์ที่เกิดจากบุคลิกภาพของผู้บริหาร
  2. วิสัยทัศน์ที่ทำให้เกิดการพัฒนาองค์กรและการจัดการ
  3. วิสัยทัศน์กับการประยุกต์